เรื่องล่าสุด
The Cave (2019) นางนอน
The Cave (2019) นางนอน เรื่องราวสุดลุ้นระทึกของภารกิจการช่วยเหลือระหว่างประเทศ
The Cave (2019) เล่าผ่านมุมมองที่ไม่เคยถ่ายทอดที่ไหนมาก่อน สิ่งที่อาสาสมัครและหน่วยกู้ภัยต้องเผชิญ
กับความเป็นความตายของคนที่พวกเขาไม่รู้จัก การตัดสินใจที่แสนยากลำบาก หากแต่ความมุ่งมั่นและความเสียสละจะทำให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการช่วยเหลือทั้ง 13 ชีวิต ไม่ว่าภารกิจเบื้องหน้า
จะอันตรายเพียงใด หรือโอกาสรอดของพวกเขาจะแทบไม่มีเลยก็ตาม ในส่วนของนักแสดงเรื่องนี้ มีทั้งนักแสดงมืออาชีพ และอาสาสมัครตัวจริงบางส่วนที่เคยเข้าร่วมภารกิจนี้
ภาพยนตร์เรื่องนี้ครอบคลุมเหตุการณ์การกู้ภัยที่ถ้ำหลวงในปี พ.ศ. 2561 โดยมุ่งเน้นบุคคลหลายคนที่มีส่วนร่วมในปฏิบัติการนั้น ซึ่งรวมถึงนพดล นิยมค้า ผู้ผลิตเครื่องสูบน้ำ The Cave (2019) สมาน กุนัน อดีตสมาชิกหน่วยซีลของไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จิม วอร์นี นักประดาน้ำในถ้ำจากไอร์แลนด์
เรื่องราวสุดลุ้นระทึกของภารกิจการช่วยเหลือระหว่างประเทศ เล่าผ่านมุมมองที่ไม่เคยถ่ายทอดที่ไหนมาก่อน สิ่งที่อาสาสมัครและหน่วยกู้ภัยต้องเผชิญ กับความเป็นความตายของคนที่พวกเขาไม่รู้จัก การตัดสินใจที่แสนยากลำบาก หากแต่ความมุ่งมั่นและความเสียสละจะทำให้พวกเขาบรรลุเป้าหมายเดียวกัน
นั่นคือการช่วยเหลือทั้ง 13 ชีวิต ไม่ว่าภารกิจเบื้องหน้าจะอันตรายเพียงใด
หรือโอกาสรอดของพวกเขาจะแทบไม่มีเลยก็ตาม ในส่วนของนักแสดงเรื่องนี้ มีทั้งนักแสดงมืออาชีพ และอาสาสมัครตัวจริงบางส่วนที่เคยเข้าร่วมภารกิจนี้ De Warrenne Pictures บริษัทของวอลเลอร์ในกรุงเทพฯ ผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้ วอลเลอร์เริ่มดำเนินงาน
ภาพยนตร์นี้ไม่นานหลังจากเหตุการณ์จริงในเดือนมิถุนายน–กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และกำหนดเนื้อเรื่องหลังได้พบจิม วอร์นี ในไอร์แลนด์ วอลเลอร์ร่วมเขียนบทกับดอน The Cave (2019) ลินเดอร์ และคทรีน่า กลอส ภรรยาของวอลเลอร์เอง ภาพยนตร์นี้ได้บุคคลหลายคนที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติกู้ภัยมารับบทเป็นตนเอง ภาพยนตร์ส่วนใหญ่ถ่ายทำในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561
ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 แต่กว่าจะได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำที่ถ้ำหลวงนั้น ต้องรอจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ฉากถ้ำส่วนใหญ่ถ่ายทำในถ้ำแห่งอื่นในประเทศไทยและในเซ็ตที่สร้างขึ้นบนสระน้ำ ภาพยนตร์นี้เป็นภาพยนตร์การกู้ภัยเรื่องแรกที่ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ ส่วนเนื้อเรื่องเกี่ยวกับเด็ก ๆ
ที่ติดถ้ำนั้น เน็ตฟลิกซ์ได้สิทธิแต่ผู้เดียวไปแล้ว
หลังจากปฏิบัติการช่วยชีวิตทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมี 13 คน ที่ประสบภัยติดอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จ. เชียงราย เมื่อเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2561
ซึ่งระดมคนนับหมื่นจากทั่วโลก The Cave (2019) และเป็นที่จับตามองจากคนทั้งโลกจบไป ก็มีบริษัทภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างชาติมากมายแสดงความสนใจว่าอยากนำเหตุการณ์ช่วยชีวิตที่เปรียบเสมือนการต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาตินี้มาถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์
เวลาผ่านไปราว 1 ปี มีการเริ่มฉายภาพยนตร์ The cave นางนอน
โดยผู้กำกับ ทอม วอลเลอร์ ผู้กำกับภาพยนตร์ลูกครึ่งไทย-ไอริช ที่มีผลงานการกำกับภาพยนตร์ไทยเรื่อง ศพไม่เงียบ
(Mindfulness and Murder) และ เพชฌฆาต (The Last Executioner) ซึ่งคว้ารางวัลในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติมาหลายรางวัล ได้รับความไว้วางใจให้มากำกับภาพยนตร์ภารกิจช่วยชีวิตซึ่งเป็นที่โจษจันในระดับโลกเรื่องนี้ ภาพยนตร์ The cave นางนอน The Cave (2019) เริ่มเข้าฉายตามเทศกาลภาพยนตร์ในประเทศต่างๆ
ส่วนประเทศไทยก็เริ่มเข้าฉายเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562
ความที่ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวจากประเทศไทยที่คนไทย (และคนทั้งโลก) ให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด
ดังนั้น หลังภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายจึงเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในแง่มุมที่ดี เช่น ในที่สุดก็มีภาพยนตร์ที่ถ่ายทอดปฏิบัติการครั้งประวัติศาสตร์นี้ไว้ และแง่มุมในอีกด้านที่เพจ facebook
หรือผู้มีอิทธิพลในสื่อสังคมออนไลน์หลายคนมองว่าเป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ระบบราชการไทยอย่างรุนแรง จนมีการแสดงความกังวลว่าภาพยนตร์เรื่องนี้อาจถูกห้ามฉายในประเทศไทยโดยรวมแล้ว ภาพยนตร์เริ่มเล่าเรื่องราวเหตุการณ์หลังการซ้อมฟุตบอลของทีมหมูป่าและเข้าไปเที่ยวเล่นในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน
ไปจนถึงฉากสุดท้ายที่เป็นการช่วยชีวิตทุกคนที่ติดอยู่ในถ้ำได้อย่างปลอดภัย และทุกคนที่มีส่วนในภารกิจต่างแสดงความยินดีร่วมกัน The Cave (2019) โดยในภาพยนตร์เรื่องนี้มีผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จริงหลายคนมาร่วมแสดง ทั้งจิม วอร์นีย์ (Jim Warny) นักดำน้ำที่ภาพยนตร์วางบทบาทให้เป็นตัวละครสำคัญ
ที่พาทีมหมูป่าออกมา, เอริก บราวน์ (Erik Brown) ครูสอนดำน้ำชาวแคนาดา
ถันเซี่ยวหลง (Tan Xiaolong) ครูสอนดำน้ำในถ้ำชาวจีน และคนไทยอย่างนภดล นิยมค้า
(ผู้ใหญ่ตุ้ม) ผู้ใหญ่บ้านเจ้าของเครื่องสูบน้ำจากจังหวัดเพชรบุรีที่เข้ามาเป็นหัวหน้าทีมสูบน้ำ และมีการพูดถึงจ่าแซม – นาวาตรี สมาน กุนัน
ซึ่งในภาพยนตร์ได้ให้พื้นที่เล็กๆในการสดุดีเรื่องราวของเขาที่ได้สละชีวิตเพื่อภารกิจครั้งนี้ในส่วนของการถ่ายทอดเรื่องราวที่ปรากฎในภาพยนตร์ ต้องชื่นชมผู้กำกับที่คัดสรรเหตุการณ์สำคัญๆหลายเหตุการณ์มานำเสนอได้อย่างลื่นไหลจากหลากหลายมุมมอง The Cave (2019) ไม่ว่าจะเป็นทีมช่วยเหลือชาวไทย ทั้งคนในพื้นที่และชาวบ้านจากต่างถิ่นที่อาสาสมัคร
ทีมช่วยเหลือชาวต่างชาติ (ซึ่งภาพยนตร์เลือกเล่าจากมุมมองของพวกเขามากเป็นพิเศษ อาจเป็นเพราะทีมงานผู้สร้างสามารถเก็บข้อมูลจากพวกเขาได้มากกว่า) และทีมหมูป่าที่ติดอยู่ในถ้ำเอง
ภาพยนตร์มีการออกแบบงานสร้างและการถ่ายทำที่ออกมาใกล้เคียงเสียจนเสมือน
ผู้ชมได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์นั้นจริงๆ โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในศูนย์ช่วยเหลือหน้าถ้ำและช่วงเวลาการปฏิบัติการกู้ชีพภายในถ้ำ
รวมไปถึงการใส่สัญลักษณ์ความเป็น “ไทย” ไม่ว่าจะเป็นการบวงสรวงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวบ้าน ดนตรีประกอบที่มีกลิ่นอายความเป็นไทย ตัดสลับกับเหตุการณ์
และผู้คนในชนบทรอบนอก The Cave (2019) ที่คาดว่าผู้ชมต่างชาติน่าจะให้ความสนใจแม้เราจะทราบบทสรุปแล้วว่าผลของการช่วยเหลือนั้นเป็นอย่างไร แต่ในภาพยนตร์ได้มีการถ่ายทอดเรื่องราวที่เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ – ความรู้สึก – ความหวัง
ของตัวละครที่ปรากฏในเรื่อง ทั้งทีมงานกู้ชีพจากหลากหลายประเทศที่ภาพยนตร์ได้วางบทบาทให้พวกเขาต้องสู้กับอุปสรรคในการช่วยเหลือที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่เนื่องจากเหตุการณ์การช่วยเหลือครั้งนี้ “ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและไม่มีทางเป็นไปได้” จึงทำให้พวกเขาต้องมาเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ
ต้องประเมินสถานการณ์และความเสี่ยงร่วมกันหลายต่อหลายครั้ง
อีกทั้งการที่ภาพยนตร์วางตัวละครเอกอย่างนักดำน้ำ จิม วอร์นีย์ ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นฮีโร่ในภารกิจครั้งนี้
ให้ต้องต่อสู้กับตัวเองและความหวาดกลัวที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ (ซึ่งต้องมีเป็นธรรมดาตามประสาปุถุชน) ตลอดจนเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นหลายครั้ง The Cave (2019) ก็ทำให้ผู้ชมต้องนั่งลุ้นในรายละเอียดว่าพวกเขาจะฝ่าสถานการณ์ยากลำบากเช่นนี้เพื่อนำพาทีมหมูป่าที่รอคอยอย่างมีความหวังออกมาได้อย่างไร
เหตุการณ์การช่วยชีวิตในถ้ำที่ภาพยนตร์นำเสนอน่าจะตรึงผู้ชมได้ดีเช่นกัน เพราะการออกแบบงานสร้างที่สมจริงดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ทำให้ผู้ชมรู้สึกอึดอัดกับบรรยากาศถ้ำที่คับแคบ และช่วงเวลาการนำตัวทีมหมูป่า
ออกมาซึ่งเปรียบได้กับเสี้ยวเวลาชีวิตแห่งความเป็นความตายอีกองค์ประกอบหนึ่งที่อาจทำให้ผู้ชมน้ำตารื้นเป็นระยะๆ คือความรู้สึกของชาวบ้านที่คอยสนับสนุนเป็นการส่วนตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการระดม
“ถอด” ท่อพีวีซีชนิดพิเศษซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งจากทั่วประเทศมาให้ยืมใช้สูบน้ำออกจากถ้ำ
ภาพชาวบ้านจากหลากที่มาระดมทำอาหารเพื่อเลี้ยงทุกคนที่มีส่วนช่วยในภารกิจ และภาพยนตร์ยังมีการพูดถึงบรรดาชาวบ้านรอบนอกถ้ำที่ยอมให้สูบน้ำออกจากถ้ำมาท่วมพื้นที่เพาะปลูกของตัวเอง
พวกเขาตัดสินใจไม่รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลด้วยเหตุผลว่า “เงินนี้มีเพื่อช่วยเด็กๆ พวกเรารับไว้ไม่ได้ นาเสียหายยังปลูกใหม่ได้ แต่ชีวิตเด็กๆเสียไปทำอะไรไม่ได้” อันเป็นเหตุการณ์จริง The Cave (2019) และในภาพยนตร์ก็มีการถ่ายทอดเรื่องราวนี้เพื่อบันทึกถึงความเสียสละของพวกเขา
ท้ายที่สุดหลังจากช่วยชีวิตหมูป่าทั้งสิบสามคนออกมาได้สำเร็จ ภาพความซาบซึ้งจากญาติของเด็กๆที่ขอบคุณทีมช่วยเหลืออย่างจริงใจ ความรู้สึกดีใจตื้นตันของทีมช่วยเหลือระดับโลกที่สามารถฝ่าภารกิจอันยากลำบากร่วมกันได้สำเร็จ รวมไปถึงทีมหมูป่าที่รับรู้ว่า ในที่สุดพวกเขาก็ได้รับโอกาสให้มีชีวิต
อยู่ต่อไปจากความช่วยเหลือของทุกคน
อย่างไรก็ตาม ในเชิงการเล่าเรื่องแบบภาพยนตร์ เรื่องนี้อาจจะมีข้อติติงสำคัญ อันเนื่องมาจากตัวภาพยนตร์พยายามเล่าหลากเหตุการณ์จากหลายมุมมองอย่างรวดเร็วในเวลาที่จำกัด ทำให้ภาพยนตร์เหมือนเกลี่ยเล่าเหตุการณ์ตามลำดับเวลาไปเรื่อยๆ จึงขาดเอกลักษณ์หรือฉากจำ
ที่จะคอยเสริมความประทับใจในฐานะภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง The Cave (2019) นอกเหนือไปจากการเล่าเหตุการณ์อันน่าประทับใจโดยรวม รวมถึงปมของตัวละครอันหลากหลายที่แต่ละคนต้องพบเจอและต่อสู้ในภารกิจครั้งนี้
ทำให้ภาพยนตร์ขาดเสน่ห์เฉพาะตัว ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง และตามความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถเล่าเรื่องได้ดีและไปให้สุดได้มากกว่าที่เป็น“สับเละ” ระบบราชการไทย
อีกหนึ่งประเด็นที่มีต่อภาพยนตร์เนื่องนี้ คือการมีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์ระบบราชการซึ่งมีความล่าช้า
เนื่องจากต้องพึ่งพาการสั่งการจากผู้มีอำนาจเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปมปัญหาเรื่องเจ้าหน้าที่อุทยาน(ซึ่งในเหตุการณ์จริงเป็นใครนั้นยังไม่มีความชัดเจน)
ไม่อนุญาตให้มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่ผู้ใหญ่ตุ้มขนมาจากเพชรบุรี ทั้งที่เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากทีมงานช่วยเหลือไม่มีใบอนุญาตจากผู้มีอำนาจสั่งการ The Cave (2019) จนต้องมีการใช้ “เส้นสาย” จึงสามารถติดตั้งเครื่องสูบน้ำได้สำเร็จ
นอกจากนี้ ภาพยนตร์ยังมีนัยยะเปรียบเทียบให้ผู้ชมเห็นว่า ทีมงานต่างชาติมีบทบาทการทำงานในเชิงรุกมากกว่าระบบราชการไทย ทั้งในขั้นตอนการปฏิบัติการภายในถ้ำ
รวมไปถึงขั้นตอนการวางแผนร่วมกันที่หน่วยงานราชการไทยพยายามกีดกั้นแผนการและการอาสาต่างๆจากทีมงานต่างชาติ เนื่องจากเหตุผลว่า “เป็นความลับ” หรือ “ถ้าผิดพลาดไปใครจะรับผิดชอบ” ซึ่งเราต่างทราบดีว่าเป็นค่านิยมของผู้ปฏิบัติงาน
ในระบบราชการไทยที่ฝังรากลึกมายาวนาน ทำให้เกิดอุปสรรคเพิ่มเติมในการช่วยเหลือเด็กๆ
ไปอย่างไม่ควรและไม่จำเป็น ซึ่งถ้าเหตุการณ์ในเรื่องเป็นจริง ดูหนังออนไลน์ ระบบราชการไทยจำเป็นต้องรับฟังการวิพากษ์วิจารณ์ค่านิยมเช่นนี้ทั้งจากตัวภาพยนตร์และผู้ชมที่ “เห็นด้วย”
ซึ่งมีอยู่จำนวนมากในสังคมส่วนเรื่องมุกตลกจากนายกรัฐมนตรีไทยที่แทรกเข้ามาในเรื่อง……. ผมมองว่าเป็นเหตุการณ์เซอร์ไพรส์เล็กๆที่เรียกเสียงหัวเราะจากผู้ชมท่ามกลางความตึงเครียด
ภายในเรื่องได้ดี (หรือบางท่านดูแล้วอาจเครียดยิ่งกว่าเดิมก็เป็นได้)
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อตำหนิระบบราชการไทยอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะการนำเสนอประเด็นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในเรื่องเท่านั้น The Cave (2019) จุดมุ่งหมายหลักของภาพยนตร์คือการบันทึกปฏิบัติการช่วยชีวิตอันน่าตื้นตันและจับใจคนทั้งโลกมากกว่า
ถ้าได้มีโอกาสรับชม ผมเชื่อว่าผู้ชมจะสามารถสัมผัสเรื่องราวความประทับใจที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของคนทั้งโลกอย่างจริงใจเพื่อช่วยเหลือและมอบความหวัง ให้เด็กติดถ้ำทั้ง 13 คน
ได้มีชีวิตอยู่ต่อไป ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำหน้าที่บันทึกเหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์
นี้ไว้ให้คนรุ่นหลัง นอกเหนือจากการให้ความบันเทิงได้เป็นอย่างดี
When a youth football team of 12 boys, aged 11-16, and their 25-year-old coach is trapped deep inside a cave in Northern Thailand,
thousands of volunteers and soldiers from around the world unite in a race against time to find them. Once the boys are found alive ten days later, The Cave (2019) the only way out is an impossible five-hour dive-swim that only expert cave divers could survive.
In Ireland, airplane factory electrician and recreational cave diver Jim Warny gets the call: “How soon can you be here?” Arriving in Thailand, Jim steps off the plane and
into the cave – a knife-edge three-day mission is underway. Based on true events,
THE CAVE tells the thrilling story of the largest international rescue mission of modern times, from the unique perspective of the men and women
facing life-and-death decisions and displaying selfless determination and sacrifice, culminating in a triumphant outcome against all the odds.
The film was produced by Waller’s Bangkok-based De The Cave (2019) Warrenne Pictures. Waller began working on the film soon after the actual events of June–July 2018,
and decided on the story after meeting Warny in Ireland. He co-wrote the script with Don Linder and Katrina Grose, focusing on “the unsung heroes—how they first heard what was happening,
how they reacted and dropped everything to help.”
Several individuals involved in the effort portrayed themselves in the film. Most of the filming took place from October 2018 to January 2019,
but it was not until February that The Cave (2019) Waller was allowed to film at the Tham Luang Nang Non cave. The majority of cave scenes were filmed in other caves in Thailand as well as on a set built over a swimming pool.
The film was the first about the rescue to be released, while exclusive rights over the boys’
stories had been sold to Netflix.The Cave (known in Thai as Nang Non, นางนอน)
is a 2019 Thai action-drama film about the 2018 Tham Luang cave rescue in Chiang Rai Province, Thailand, written and directed by Tom Waller and co-produced by Waller and Allen Liu.
The story is written from the points The Cave (2019) of view of several individuals involved in the rescue operation, and features cave diver Jim Warny and others as themselves.
The film premiered at the 2019 Busan International Film Festival, and was released in Thailand on 21 November. It had a re-edited release in 2022 as Cave Rescue.
Tags : The Cave The Cave นางนอน นางนอน